บทที่ 1 เป้าหมายโครงการ


บทที่ 1
 เป้าหมายโครงการ
(Goals)
    
     “ ทารุณกรรม ’’ คำนี้เป็นคำที่มักถูกใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่ในหนังสือพิมพ์หรือเป็นข่าวใหญ่ตามวิทยุและโทรทัศน์ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน และจากสถิติข้อมูลพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ติดอันดับการใช้ความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นและเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ ข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าผู้ที่กระทำมักจะเป็นคนในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาการทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและจะเกิดเป็นปัญหาลูกโซ่ต่อไปเรื่อยๆหากปล่อยไว้หรือไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

     ในปัจจุบันมีหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทกับการให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มากขึ้น ทั้งการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น การให้ที่พัก ให้การศึกษา ซึ่งจะมาในรูปแบบของมูลนิธิที่ต้องแบกรับภาระการเลี้ยงดูเยาวชนกลุ่มนี้ไว้มากเกินความรับผิดชอบ อีกทั้งเยาวชนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ระบบมูลนิธิจึงไม่สามารถรับผิดชอบไว้ได้เองทั้งหมดและยังขาดการจัดการที่เป็นระบบ ซึ่งจะเกิดเป็นปัญหาที่ส่งผลโดยตรงต่อเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ด้วย

รูปภาพที่ 1.1 แสดงจำนวนเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรง แบ่งตามเพศ ปี พ.. 2548-2553
รูปภาพที่ 1.2 แสดงจำนวนเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว แบ่งตามประเภทความรุนแรง
ปี พ.. 2553
รูปภาพที่ 1.3 แสดงจำนวนเด็กที่ถูกทารุณกรรม แบ่งตามระดับการศึกษาของผู้ถูกกระทำ
ปี พ.. 2553

เนื่องจาก ในปัจจุบันมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มากมาย
ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของมูลนิธิและยังไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอ เพียงแต่เป็นสถานที่ที่ให้ความช่วย
เหลือเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากการขาดระบบและสถานที่ที่สามารถให้ความช่วยเหลือและรองรับเยาวชนกลุ่มนี้โดยตรงและมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โครงการศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม มีรายละเอียดของเป้าหมายต่างๆดังนี้
1.1 เป้าหมายโครงการด้านหน้าที่ใช้สอย ( Function Goals)
1.1.1 กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้โครงการ สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
(1)  กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
(2)  กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
(3)  กลุ่มผู้บริหาร   และบุคลากร
             (1)   กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก 
             กลุ่มผู้ใช้โครงการที่มีการใช้พื้นที่ภายในศูนย์ฟื้นฟูเป็นประจำ ส่งผลกับการเกิดกิจกรรม
ต่างๆขึ้นในโครงการ
-            กลุ่มของเยาวชนที่ได้ผลกระทบจากการทารุณกรรรม
-  กลุ่มของผู้ดูแลเยาวชน ที่จะต้องอยู่กับเยาวชนในช่วงพักผ่อน

          (2)  กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
                      กลุ่มผู้ใช้โครงการเป็นครั้งเป็นคราว ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ แต่มีการตอบสนองต่อรูปแบบกิจกรรมไม่ต่อเนื่องเท่ากับกลุ่มผู้ใช้หลัก
-            กลุ่มของอาจารย์ผู้สอนจากภายนอก
-            กลุ่มของผู้มาติดต่อกับโครงการ

(3)  กลุ่มผู้บริหารโครงการ และบุคลากร
-  กลุ่มผู้บริหาร เป็นกลุ่มคนที่คอยวางแผนงานและรับผิดชอบงานให้เป็นไปตาม
นโยบาย และวัตถุประสงค์ของโครงการ คอยควบคุมและติดต่อประสานงานกับภายนอก
-  กลุ่มบุคลากร หรือกลุ่มเจ้าหน้าที่เป็นกลุ่มคนที่คอยทำตามแผนงานที่ฝ่ายบริหารวางไว้
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารและนโยบายจากภาครัฐ

1.1.2 เป้าหมาย องค์ประกอบโครงการและพื้นที่ใช้สอยโครงการ
          (1) องค์ประกอบโครงการ  ( FUNCTIONAL   COMPONENT  ) จากโครงสร้างองค์ประกอบภายในโครงการ ศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม มุ่งเน้นทางด้านการสร้างกิจกรรมการฟื้นฟูให้กับเยาวชนที่ได้ผลกระทบ และให้ปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการเรียนรู้การปรับตัวกับสังคม
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถที่จะคาดการณ์เพื่อกำหนดองค์ประกอบด้านหน้าที่ใช้สอยส่วนต่างๆ ของโครงการดังนี้                  
ส่วนส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกอาชีพ (Education Zone)
ส่วนกิจกรรมการส่งเสริมการให้ความรู้และอาชีพเบื้องต้นให้กับเยาวชน เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้การปรับตัวเพื่อที่จะสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างคนปกติ
(1)   ส่วนการเรียนรู้กลุ่มวิชาสามัญ
(2)   ส่วนการเรียนรู้กลุ่มวิชาชีพ
(3)   ส่วนการเรียนรู้ชีวิต

ส่วนพื้นที่พักอาศัย (Resident Zone)
ส่วนพื้นที่พักอาศัยของเยาวชนทั้ง 120 คน พร้อมด้วยผู้ดูแล เป็นส่วนที่ให้เยาวชนและผู้ดูแลได้พักผ่อนและทำธุระส่วนตัว
(1)   ส่วนพักอาศัยของเยาวชน 120 คน
(2)   ส่วนพักอาศัยของผู้ดูแลเยาวชน

ส่วนพื้นที่กิจกรรมนันทนาการ (Activity Zone)
ส่วนพื้นกิจกรรมต่างๆที่ส่งเสริมการบำบัดและฟื้นฟูจิตใจของเยาวชน เพื่อผ่อนคลายความรู้สึกกดดันของเยาวชนภายในศูนย์ฟื้นฟู และส่งเสริมการอยู่และการทำกิจกรรมร่วมกันของเยาวชน

ส่วนพักฟื้นและบำบัด (Revive Zone)
ส่วนพื้นที่การพูดคุยปรึกษาและกิจกรรมการบำบัดของทางศูนย์ฟื้นฟู เพื่อการรับรู้ปัญหาทางด้านจิตใจของเยาวชน และการหาแนวทางการบำบัด

ส่วนอำนวยการและบริหาร (Administration Zone)
เป็นพื้นที่ทำงานของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่บริหารจัดการโครงการให้สัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์โครงการ

ส่วนพื้นที่โรงครัว (Pantry Zone)
 เป็นส่วนพื้นที่การเตรียมอาหารให้กับเยาวชน เจ้าหน้าที่และบุคลากรภายในศูนย์ฟื้นฟู

ส่วนบริการอาคาร (Public Zone)
เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาอาคารและงานควบคุมระบบอาคาร   ฝ่ายดำเนินการทางด้านเทคนิคต่างๆของโครงการ

ส่วนที่จอดรถ  (Parking Zone)

เป็นพื้นที่จัดเตรียมจอดรถสำหรับเจ้าหน้าที่และบุคลากรภายในศูนย์ฟื้นฟู รวมถึงพื้นที่จอดรถสำหรับฝ่ายบำรุงและรักษางานระบบอาคารด้วย


รูปภาพที่ 1.4 แสดงขั้นตอนและกระบวนการของศูนย์ฟื้นฟูเบื้องต้น


          (2) พื้นที่โครงการ  ( AREA REQUIREMENT  ) การวางเป้าหมายโครงการด้านพื้นที่โครงการได้จากการกำหนดจากกรณีศึกษาของโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยจะสามารถคำนวณจากจำนวนผู้ใช้โครงการหลัก ผู้ใช้โครงการรองรวมถึงกลุ่มของบุคลากรภายในโครงการ จะทำให้ทราบถึงขนาดพื้นที่ใช้สอยโดยประมาณ ซึ่งเป็นการคำนวณเป้าหมายพื้นที่ใช้สอยเบื้องต้น ตามปริมาณผู้ใช้งานโครงการได้ดังนี้

ประเภทโครงการ
การกำหนดพื้นที่เบื้องต้น
ศูนย์พักฟื้น / ฟื้นฟู
30 – 40 ตรม. ต่อผู้ใช้งาน  1 คน

ตารางที่ 1.1 แสดงการกำหนดพื้นที่เบื้องต้นของโครงการ
ดัดแปลงจาก การจัดทำโครงการทางสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

จำนวนผู้เข้าใช้โครงการต่อวัน X 40 = พื้นที่ใช้สอยเบื้องต้นของโครงการ
               175 X 40 = 7,000 ตารางเมตร


          ดังนั้น พื้นที่ใช้สอยเบื้องต้นของโครงการ จะมีพื้นที่โครงการประมาณ 7,000 ตารางเมตร แต่การประมาณพื้นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อลงลึกถึงรายละเอียดโครงการ

1.2 เป้าหมายโครงการด้านรูปแบบ ( Form Goals)
          การกำหนดเป้าหมายโครงการทางด้านรูปแบบ มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดรูปแบบภาพลักษณ์ของโครงการที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้จะต้องทำการศึกษา และพิจารณาข้อมูล หาทำเลที่ตั้งที่มีความเหมาะสมกับโครงการ ในทุกๆด้าน

          1.2.1 การเลือกทำเลที่ตั้ง ( Location Selection)
                      เนื่องจากโครงการ ศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม โดยการรับเยาวชนอายุระหว่าง 12 – 16 ปี ที่เคยอยู่ในมูลนิธิต่างๆ
และสร้างกิจกรรมต่างๆเพื่อการฟื้นฟูจิตใจเยาวชนเพื่อให้พร้อมกับการกับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างคนปกติ
                       ดังนั้นทำเลที่เหมาะสมกับโครงการนั้นจะต้องอยู่ในบริเวณแหล่งที่ไม่ใช่แหล่งชุมชนมากนักแต่ไม่ถึงขนาดเป็นพื้นที่ห่างไกลชุมชน มีการเดินทางสะดวก มีความหนาแน่นของพื้นที่น้อย มีความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ซึ่งมีขั้นตอนในการพิจารณาดังต่อไปนี้



ตารางที่ 1.2 ตารางเกณฑ์การให้คะแนนระดับจังหวัด

การพิจารณาระดับจังหวัด
            สมุทรปราการ   เป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวงของประเทศ มีการคมนาคมที่สะดวก ทันสมัยเป็นพื้นที่รองรับการขยายของเมืองที่อยู่ใกล้กับแหล่งธรรมชาติ เป็นพื้นที่เหมาะกับโครงการที่เกี่ยวกับการฟื้นฟู ที่ต้องการให้โครงการอยู่ใกล้กับเมืองและการคมนาคมที่สะดวก
เนื่องจากเมืองสมุทรปราการ เป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวง และยังมีการคมนาคมที่สะดวก
มีสาธารณูปโภค สาธารณูปการครบครันและยังมีพื้นที่ที่ยังความเป็นธรรมชาติอยู่ จึงต้องมีการเลือกเขตที่ดินที่มีความเหมาะสมกับโครงการ ซึ่งอยู่ในเขตของอำเภอเมือง แต่อยู่ในพื้นที่รอบนอกของเมืองซึ่งอยู่ในเขตของตำบลบางปู  และได้เลือกพื้นที่ในเขตตำบลบางปูมา 3 เขต
การพิจารณาที่ตั้งโครงการ



รูปภาพที่ 1.5 แสดงตำแหน่ง SITE ทางเลือก ตำบลบางปู
รูปภาพที่ 1.6 แสดงตำแหน่ง SITE ทางเลือก และสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
รูปภาพที่ 1.7 แสดงตำแหน่ง SITE ทางเลือกที่ 1
 รูปภาพที่ 1.8 แสดงตำแหน่ง SITE ทางเลือกที่ 2
 รูปภาพที่ 1.9 แสดงตำแหน่ง SITE ทางเลือกที่ 3



ตารางที่ 1.3 ตารางเกณฑ์การให้คะแนนการเลือก SITE

          1.2.2 เป้าหมายจินตภาพโครงการ (Image Goals)
ในการกำหนดเป้าหมายจินตภาพโครงการ เป็นการวางรูปแบบของภาพรวมโครงการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพที่ตั้ง กลุ่มผู้ใช้โครงการ และรูปแบบของสถาปัตยกรรม ซึ่งการกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมนั้นจะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ใช้โครงการ ซึ่งการกำหนดเป้าหมายจินตภาพโครงการจะพิจารณาตามปัจจัยดังต่อไปนี้
(1)   กิจกรรมหรือหน้าที่ใช้สอยของโครงการ (Activity / Function)
เนื่องจากโครงการเป็นอาคารศูนย์ฟื้นฟูและบำบัด ซึ่งต้องมีส่วนแยกจากส่วน การศึกษาและส่วนพักอาศัยออกจากกัน และควรเป็นพื้นที่ที่ปลอดโปร่งอีกด้วย
(2)   ผู้ใช้โครงการ (User)
ผู้ใช้โครงการส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก เพราะฉะนั้นจินตภาพโครงการจะเอื้อแก่การเรียนรู้และการเป็นที่ฟื้นฟูและบำบัด

(3)   ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของที่ตั้งโครงการ (Site and Environments)                         
            เนื่องจากโครงการเน้นถึงความสอดคล้องกับบริบทที่เป็นพื้นที่อาศัยหนาแน่นน้อย เป็นสถานที่ให้เยาวชนได้เข้ามาบำบัดและฟื้นฟู และทำกิจกรรมเพื่อการบำบัด ดังนั้นโครงการควรจะสามารถเชื่อมต่อกับ
ระบบสาธารณะได้ด้วย

1.3 เป้าหมายโครงการด้านเศรษฐศาสตร์(Economy Goals)
1.3.1 แหล่งเงินทุนโครงการ ( Source of Investment )
1. งบประมาณในการจัดตั้งโครงการ  ได้รับการสนับสนุนจากแผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติ
โดยความดูแลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.3.2 งบประมาณเบื้องต้น ( Initial Budget )

            ตารางงบประมาณเบื้องต้น


ตารางที่ 1.4 ตารางแสดงงบประมาณเบื้องต้นของโครงการ

งบประมาณการก่อสร้างรวมโครงการ                     =                    100,892,408 บาท

1.3.3 ผลตอบแทนทางสังคม ( Social Benefits )
โครงการศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมเพื่อการช่วยเหลือเยาวชนที่เคยถูกทารุณกรรม เพื่อการเปิดโอกาสให้เยาวชนกลุ่มนี้สามารถกลับคืนสู่สังคม โดยการรับการเข้ามาบำบัดระยะสุดท้าย และกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เยาวชนกลุ่มนี้มีความพร้อม และทัศนคติที่เปลี่ยนต่อสังคม เพื่อประโยชน์ของสังคมเองและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย

1.4 เป้าหมายโครงการด้านเทคโนโลยี (TECHNOLOGY GOAL)
การตั้งเป้าทางด้านเทคโนโลยีอาคารนั้นเพื่อ กำหนดการใช้สอยเทคโนโลยีหรืองานระบบประกอบ
อาคารที่เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงการ โดยทั่วไปจะแบ่งออกได้เป็น  2 กลุ่มใหญ่  คือ

1.4.1 เป้าหมายเทคโนโลยีอาคาร
             -ระบบปรับอากาศ
            การใช้ระบบปรับอากาศแบบศูนย์กลาง  ในส่วนที่ใช้งานเป็นเวลาเช่นส่วนพักผ่อน และใช้ระบบแยกส่วนในส่วนที่มีการเปิด-ปิด ไม่เป็นเวลาเช่นส่วนบริหาร ทำให้สามารถประหยัดพลังงานซึ่งเป็นผลให้ลดค่าใช้จ่ายลงได้ (การใช้ระบบปรับอากาศ แบบ central air และระบบแยกตามส่วนต่างๆ fan coil หรือ ahu เพื่อความประหยัดค่าดำเนินการของโครงการ)
            -ระบบแสงสว่าง
            การใช้ระบบแสงสว่างที่ควบคุมจากศูนย์กลางในบางส่วนของอาคาร และใช้ระบบแสงสว่างแบบแยกควบคุม และคำนึงถึงการใช้แสงสว่างที่เหมาะสมทั้งปริมาณและจำนวนให้พอเหมาะกับความต้องการ และการใช้แสงจากธรรมชาติ เพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
            -ระบบโครงสร้างอาคาร
            ในส่วนงานระบบโครงสร้างอาคารเป็นส่วนงานที่ไม่ต้องใช้งานระบบที่ซับซ้อน  ใช้ระบบโครงสร้างที่มีความประหยัดและก่อสร้างได้เร็ว

1.4.2   เป้าหมายเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะโครงการ
- ระบบอินเตอร์เน็ต

- ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อสอดส่องดูแลความเป็นอยู่และดูแลความปลอดภัยของเยาวชน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น