บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานโครงการ


บทที่ 2
ข้อมูลพื้นฐานของโครงการ
(Facts)

2.1 ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่การใช้สอย ( Function Facets )   

            โครงการศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม เป็นโครงการที่มุ่งเน้นถึงการเป็นโครงการต้นแบบ ในการฟื้นฟูและบำบัดจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม รวมถึงกิจกรรมและวิธีการดูแลเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อสังคมของเยาวชนและเตรียมความพร้อมก่อนกลับเข้าสู่สังคมต่อไป
            การนำข้อมูลพื้นฐานของ ศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม มาวิเคราะห์ และสรุปปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการกำหนดแนวความคิดโครงการ ซึ่งมีที่มาของข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สอบถาม การสำรวจสังเกตการณ์ ค้นคว้ากรณีศึกษาที่มีลักษณะของโครงการใกล้เคียงกัน  จากวารสาร หนังสือ ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เฉพาะในขอบเขตทางด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม
            โดยข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอยศึกษามาจากกรณีศึกษาโครงการที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโครงการซึ่งในที่นี้เป็นโครงการในประเทศ 2 โครงการ และเนื่องจากในส่วนของจินต์ภาพภายนอกและภายในตัวโครงการนั้นมีความต้องการให้เห็นภาพโดยรวมของโครงการ ให้เด่นชัดมากขึ้นจึงมีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 5 โครงการ ได้แก่

            - มูลนิธิเด็ก
            - ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนา
            - Braamcamp Freire , Pontinha , Lisbon , Portugal
- Sekolah Bogor Raya , Bogor, West Java, Indonesia
- Vergilio Ferreira High School , Lisbon , Portugal


กรณีศึกษาที่ 1     มูลนิธิเด็ก ( Foundation For Children )



รูปภาพที่ 2.1 มูลนิธิเด็ก
ที่มา  : http://www.planarchitect.com

ชื่อโครงการ          มูลนิธิเด็ก
ที่ตั้งโครงการ        ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
พื้นที่โครงการ       1,700 ตารางเมตร
เนื้อที่ตั้งโครงการ   9 ไร่
ผู้ออกแบบ            PLAN ARCHITECT
งบประมาณ          14,990,000 บาท
เปิดดำเนินการ       ปี พ.. 2541
องค์ประกอบโครงการ
                             ส่วนพักอาศัย
                            ส่วนส่งเสริมการเรียนรู้
                            ส่วนนันทนาการ และออกกำลังกาย
                            ส่วนอำนวยการ และบริการ                  

วัตถุประสงค์          เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับเป้าหมายหลักคือเด็กอายุ 6 เดือน - 6ปี ให้ความช่วยเหลือเด็กที่ทางบ้านไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงดู กำพร้า พ่อแม่แยกทางกัน ทางบ้านฐานะยากจน เป็นที่คอยดูแลทั้งชั่วคราว-และอยู่ประจำ ช่วยเหลือปัจจัยพื้นฐาน เช่น ความเป็นอยู่ การศึกษา อาหาร 3 มื้อ และให้ความช่วยเหลือเรื่องการเลี้ยงดู

กรณีที่นำมาศึกษา    องค์ประกอบของโครงการ
                              แนวความคิดในด้านการออกแบบอาคาร
                              ระบบการจัดการเรียนการสอน


กรณีศึกษาที่ 2     ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนา



รูปภาพที่ 2.2 ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนา
ที่มา  : http://www.planarchitect.com

ชื่อโครงการ          ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนา
ที่ตั้งโครงการ        ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
พื้นที่โครงการ       11,250 ตารางเมตร
เนื้อที่ตั้งโครงการ    -
ผู้ออกแบบ            PLAN ARCHITECT
งบประมาณ          138,225,200 บาท
เปิดดำเนินการ       ปี พ.. 2542
องค์ประกอบโครงการ
                             ส่วนพักอาศัย
                            ส่วนส่งเสริมการเรียนรู้
                            ส่วนนันทนาการ และออกกำลังกาย
                            ส่วนอำนวยการ และบริการ      
วัตถุประสงค์          เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับเป้าหมายหลักคือเยาวชนอายุ 13-18 ปี
ที่กระความผิดเพื่อเข้ารับการอบรม และฟื้นฟูจิตใจให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมภายนอกได้อย่างปกติสุข พื้นที่โครงการขนาด 11,250 ตรม. รองรับเด็กจำนวน 147 คน โดยที่นี่จะรับจากเด็กบ้านอื่นๆเข้ามา โดยจะใช้วิธีการให้เด็กสมัครเข้ามา และให้ทางศูนย์ฝึกคัดเด็ก โดยมีเกณฑ์คือ จะต้องอยู่ที่บ้านเก่ามาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน และเหลือโทษไม่ต่ำกว่า 6 เดือน

กรณีที่นำมาศึกษา    องค์ประกอบของโครงการ
                              แนวความคิดในด้านการออกแบบอาคาร
                              ระบบการจัดการเรียนการสอน


กรณีศึกษาที่ 3     Braamcamp Freire


รูปภาพที่ 2.3 Braamcamp Freire,CVDB arquitectos
ที่มา  : http://www.archdaily.com

ชื่อโครงการ          Braamcamp Freire
ที่ตั้งโครงการ        Pontinha , Lisbon , Portugal
พื้นที่โครงการ       15,800 ตารางเมตร
เนื้อที่ตั้งโครงการ    -
ผู้ออกแบบ            CVDB arquitectos
งบประมาณ           -
เปิดดำเนินการ       ปี พ.. 2555




วัตถุประสงค์         อาคารถูกออกแบบให้ใช้ระบบโครงสร้างพื้น - ผนังแบบ prefabricated concrete เพื่อการก่อสร้างที่รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุดFaçade ถูกหล่อให้เป็นชิ้นเดียวกับผนังสำเร็จรูป เน้นการใช้แสงธรรมชาติและหน้าต่างรอบอาคารเพื่อการระบายอากาศของตัวอาคาร ระบบข้างในอาคาร ห้องที่มีกิจกรรมใช้งานค่อนข้างที่จะเสียงดัง จะระบบผนังดูดซับเสียง งานระบบไม่ได้มีการใช้เทคโนโลยีมากมาย มีแค่ระบบสัญญาณเตือนภัยและระบบดับเพลิงแบบ FHC เท่านั้น

กรณีที่นำมาศึกษา     ระบบการก่อสร้างอาคาร
                               แนวความคิดในด้านการออกแบบอาคาร
                               งานระบบที่จำเป็นในโครงการ


กรณีศึกษาที่ 4     Sekolah Bogor Raya



รูปภาพที่ 2.4 Sekolah Bogor Raya, Indra Tata Adilaras
ที่มา  : http://www.archdaily.com

ชื่อโครงการ          Sekolah Bogor Raya
ที่ตั้งโครงการ        Bogor, West Java, Indonesia
พื้นที่โครงการ       3,500 ตารางเมตร
เนื้อที่ตั้งโครงการ    -
ผู้ออกแบบ            Indra Tata Adilaras
งบประมาณ           -
เปิดดำเนินการ       ปี พ.. 2555




วัตถุประสงค์          อาคารใช้ระบบโครงสร้างพื้น ผนังสำเร็จรูป ซึ่งเกิดจากการที่ต้องการต่อเติมจากอาคารเดิมที่ต้องการความรวดเร็ว ระบบอาคารภายในไม่ได้มีเทคโนโลยีหรืองานระบบที่พิเศษมากมาย เพราะเป็นอาคารสำหรับเด็ก เพียงแค่เน้นช่องเปิดให้แสงเข้ามาเพื่อให้ภายในอาคารเกิดแสงสว่างเพียงพอ

กรณีที่นำมาศึกษา     ระบบการก่อสร้างอาคาร
                               แนวความคิดในด้านการออกแบบอาคาร
                               แนวความคิดในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม
                               งานระบบที่จำเป็นในโครงการ




กรณีศึกษาที่ 5     Vergilio Ferreira High School 




รูปภาพที่ 2.5  Vergilio Ferreira High School , Atelier Central
ที่มา  : http://www.archdaily.com



ชื่อโครงการ          Vergilio Ferreira High School 
ที่ตั้งโครงการ         Lisbon , Portugal
พื้นที่โครงการ        -
เนื้อที่ตั้งโครงการ    -
ผู้ออกแบบ            Atelier Central
งบประมาณ           -
เปิดดำเนินการ      ปี พ.. 2555



วัตถุประสงค์          เป็นอาคารที่ถูกออกแบบโดยใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมเป็นพื้นฐาน ออกแบบให้ตัวอาคารโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก อาคารมีลักษณะโปร่ง ไม่ทึบตัน สร้างมิติและความน่าสนใจให้กับตัวอาคาร
ทำให้พื้นที่ใช้งานด้านในไม่ดูอึดอัดจนเกินไป

กรณีที่นำมาศึกษา    แนวความคิดในการออกแบบที่ว่างภายในโครงการ
                               แนวความคิดในด้านการออกแบบอาคาร
                               แนวความคิดในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม
                               
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ ( Users )   

1.      โครงสร้างองค์กร ( Authority Structure )
         
            โครงสร้างองค์กรในที่นี้เป็นการนำผังแบ่งลำดับหน่วยงานต่างๆ ของผู้รับผิดชอบงานต่างๆ ในโครงการ ซึ่งเป็นโครงการของรัฐบาล ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องของแผนพัฒนาเยาวชนแห่งชาติ ในความดูแลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วจึงแยกออกมาเป็น ศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม ซึ่งสามารถสรุปการแบ่งฝ่ายการดูแลรับผิดชอบเป็นลำดับขั้นตอนการบริหารงานขององค์กรได้ จากการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่างๆและการศึกษากรณีศึกษา โครงสร้างขององค์กร จะสามารถสรุปลักษณะ โครงสร้างองค์กร ของศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม ได้ดังนี้
            - ฝ่ายบริหารและธุรการ ทำหน้าที่บริหาร ดำเนินงานภายในโครงการให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้วางไว้ ส่วนฝ่ายธุรการทำหน้าที่บริการ ดูแลความสะดวกเรียบร้อยภายในโครงการ
            - ฝ่ายพัฒนาพฤตินิสัย มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่ของเยาวชนภายในโครงการ รวมถึงการจัดหาครูในระบบการศึกษานอกโรงเรียนมาสอนในโครงการ ทั้งหลักสูตรวิชาสามัญและหลักสูตรวิชาชีพ รวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบดูแลในกลุ่มของวิชาการเรียนรู้ชีวิต
           - ฝ่ายงานบำบัดและฟื้นฟู มีหน้าที่ในงานการบำบัดและฟื้นฟูจิตใจของเยาวชน รวมถึงการจัดหากิจกรรมต่างๆที่ช่วยในการบำบัดและฟื้นฟูสำหรับเยาวชนภายในโครงการ
          - ฝ่ายประสานงานกิจการชุมชน มีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมของกิจกรรมภายนอกต่างๆ ของโครงการ รวมถึงการจัดหากิจกรรมให้เยาวชนในโครงการได้มีส่วนร่วมกับชุมชน
         - ฝ่ายโภชนาการ มีหน้าที่ในการเตรียมและจัดหาอาหารสำหรับเยาวชนและบุคลากรภายในโครงการ

โครงสร้างบริหาร

       จากการศึกษากรณีศึกษาจะเห็นได้ว่าองค์กรบริหารมีหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้มีการดูแลการทำงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งลำดับการดูแลจากผู้บริหารมายังฝ่าย และแผนกต่างๆ ซึ่งสามารถแสดงผังการบริหารองค์กร ( Organization Chart ) ได้ดังนี้







รูปภาพที่ 2.6 ผังโครงสร้างองค์กร ศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม

1.      ปริมาณผู้ใช้โครงการ ( Number of User )  
         
            จากการศึกษาสามารถศึกษาหาจำนวนผู้ใช้โครงการ แต่ละประเภทได้ดังนี้

1.1  กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก

            คือ กลุ่มของเยาวชนผู้ที่ได้รับผลกระทบการทารุณกรรม โดยจะมีด้วยกันทั้งสิ้น 120 คน แบ่งออกเป็น หญิง 80 คน ชาย 40 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่เคยอยู่ในมูลนิธิต่างๆ ซึ่งมีวุฒิภาวะทางจิตใจที่ดีขึ้น สามารถเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูของทางศูนย์ฟื้นฟูจิตใจได้ และกลุ่มของผู้ดูแลเยาวชน ที่มีหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่และความเรียบร้อยของเยาวชน โดยจะใช้จำนวนเยาวชน 40 คน ต่อผู้ดูแล 3 คน และจะต้องอยู่ดูแลเยาวชนในช่วงเวลาพักผ่อนด้วย
            สรุปกลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
             -  เยาวชนชายหญิงที่ได้ผลกระทบจากการทารุณกรรม จำนวน 120 คน
             -  ผู้ดูแลเยาวชน จำนวน 9 คน

          2.2 กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง

            กลุ่มของอาจารย์ที่มาสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ที่ทางศูนย์ฟื้นฟูได้จัดหาให้มาสอนตามรายวิชาที่กำหนด และกลุ่มของผู้ที่มาติดต่อประสานงานกับทางศูนย์ฟื้นฟู
             สรุปกลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
             -  อาจารย์จากภายนอก 7 คน / ในวันที่มีการเรียนการสอน

2.3  กลุ่มผู้บริหารโครงการ และบุคลากร

กลุ่มของบุคลากร และเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลความเรียบร้อยและงานบริหารอาคาร ให้เป็นไปตาม
แผนและวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้



2.      ลักษณะของผู้ใช้ ( Characteristics

          จากลักษณะโครงการ เป็นอาคารประเภทศูนย์ฟื้นฟู ซึ่งผู้ใช้อาคารจะไม่มีหลายกลุ่มมากนัก แต่จะมีลักษณะเฉพาะตัว ( Character ) ที่แตกต่างกันของกลุ่มผู้ใช้งาน โดยสามารถแบ่งกลุ่มของลักษณะผู้ใช้อาคารได้เป็น 3 ด้าน คือ

          ทางกายภาพ ( Physical )
           คือ ลักษณะทางร่างกายของผู้ใช้โครงการ ซึ่งจะมีทั้งเยาวชนและวัยผู้ใหญ่ที่มีความต้องการแตกต่างกันโดยสามารถแบ่งกลุ่มได้จากวัย และช่วงอายุของผู้ใช้โครงการดังนี้
·       วัยรุ่น  อายุ 12 – 16  ปี เป็นช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต มีรูปร่าง และความสูง ลักษณะของการก้าวเดิน และมุมมองระดับของสายตาจะต่ำกว่าของคนปกติ
·       วัยผู้ใหญ่  วัยนี้จะเป็นวัยของบุคลากรภายในศูนย์ฟื้นฟู ระดับความสูง มุมองของสายตา และลักษณะการก้าวเดินจะเป็นลักษณะของคนปกติ

ทางจิตวิทยา ( Psychological )
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางจิตวิทยาของผู้ใช้โครงการ แต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกันดังนี้
·       วัยรุ่น  จะมีความสนใจในเรื่องของแสง สี สิ่งแปลกใหม่ที่มีสีสันสวยงาม
·       วัยผู้ใหญ่  จะเป็นช่วงวัยที่ชอบความเรียบง่าย หรูหรา  

ทางสังคม ( Social )
กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก เป็นกลุ่มคนในลักษณะของกลุ่มคนพิเศษที่ได้ผลกระทบทางจิตใจ ทำให้รูปแบบของพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากคนปกติ ดังนี้
·       อายุ  มีความรู้สึกอยากเก็บตัว หวาดระแวงกับสิ่งรอบข้าง ต้องการความปลอดภัย
·       เพศ  มีการเลือกคบเพื่อนในเพศเดียวกัน มีการรวมกลุ่มกับเพื่อนที่มีลักษณะคล้ายกัน




2.1.2 กิจกรรม ( Activity )   
       ศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับกิจกรรมและรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ
1.ประเภทของกิจกรรม
        จาการสำรวจกรณีศึกษา จะมีประเภทของกิจกรรมต่างๆมากมาย ซึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ จะสัมพันธ์กับผู้ใช้โครงการ


ตารางที่ 2.0 ตารางกิจกรรมประจำวัน ศูนย์ฟื้นฟูจิตใจเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม


2. รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้

         ศึกษาถึงพฤติกรรม ในการทำกิจกรรมของผู้ใช้โครงการ ที่ส่วนใหญ่เข้ามาทำเป็นประจำในโครงการ ซึ่งรูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบโครงการและบอกให้ทราบถึง กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในโครงการด้วย โดยสามารถแยกประเภทของผู้ใช้โครงการ
 
-          กลุ่มของเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการทารุณกรรม

รูปภาพที่ 2.7แสดงกิจกรรมของส่วนการเรียนรู้และฝึกอาชีพ

รูปภาพที่ 2.8 แสดงกิจกรรมของส่วนพักอาศัย




รูปภาพที่ 2.9 แสดงกิจกรรมของส่วนกิจกรรมนันทนาการ



รูปภาพที่ 2.10 แสดงกิจกรรมของส่วนฟื้นฟูและบำบัด

-          กลุ่มของผู้ดูแลเยาวชนในศูนย์ฟื้นฟู ซึ่งจะสัมพันธ์กับเยาวชน ในที่นี้จะรายละเอียดในส่วนของผู้ดูแลเยาวชน


รูปภาพที่ 2.11 แสดงรายละเอียดที่พักอาศัยของผู้ดูแลเยาวชน

-          กลุ่มของอาจารย์ทีมาสอนจากภายนอก


รูปภาพที่ 2.12 แสดงกิจกรรมของอาจารย์ที่มาจากภายนอก


-      กลุ่มของผู้มาติดต่อกับโครงการ ในส่วนนี้ที่ไม่ค่อยจะใช้งานบ่อยนัก ซึ่งจะสัมพันธ์กับส่วนบริการ โครงการเป็นส่วนใหญ่ เช่น คนส่งของ คนส่งแก๊ส ผู้มาติดต่อเกี่ยวกับโครงการภายนอก เป็นต้น 
-      กลุ่มของเจ้าหน้าที่ และบุคลากร




รูปภาพที่ 2.15 แสดงกิจกรรมในส่วนบริหารโครงการ



2.3 ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์ ( Economic Facets )   

         เนื่องจากเป็นโครงการของรัฐบาล โดยได้รับการสนับสนุนจากเอกชนในรูปแบบของมูลนิธิ และอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
           ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์กับสังคมเป็นหลัก โดยมีจุดประสงค์ไปที่การช่วยเหลือและการสร้างกิจกรรมให้กับเยาวชนที่ถูกทารุณกรรม เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อสังคมของเยาวชนกลุ่มนี้ และเพื่อช่วยเหลือให้พร้อมกับสู่สังคมอย่างคนปกติ

2.3.1 แหล่งที่มาของเงินทุน
  
          งบประมาณการลงทุนของโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.      งบลงทุน ( Capital Found ) เป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานระยะแรกเพื่อให้โครงการสามารถเปิดดำเนินการได้ตามจุดประสงค์ โดยงบประมาณส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายทางด้านค่าก่อสร้างอาคารสถานที่ และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ซึ่งงบประมาณเหล่านี้จะได้มากจาก
1.1 งบประมาณรัฐบาล เนื่องจากโครงการนี้เป็นของรัฐบาล ดังนั้นงบประมาณนี้จึงเป็นงบประมาณหลักของโครงการ
1.2 เงินสนับสนุนของเอกชน ซึ่งสนับสุนนโครงการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยเป็นเงินสนับสนุนในรูปแบบของการบริจาค
          1.3 เงินอุดหนุนจากกองทุนต่างๆ สมาคม มูลนิธิ องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่ส่งเสริมและ
            ช่วยเหลือโครงการด้านกิจกรรมการช่วยเหลือเยาวชน
2.      งบดำเนินการ ( Operation Found ) เป็นงบดำเนินการที่ต้องใช้จ่ายในขณะที่ดำเนินการแล้ว หรือเพื่อบริหารงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ เงินเดือนเจ้าหน้าที่บุคลากร ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ โดยสามารถแยกแหล่งที่มาของเงินทุนได้ดังนี้
2.1  รัฐบาล ( Government ) โดยรัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นงบประมาณประจำปี
2.2  มูลนิธิ ( Foundation ) คืออกองทุนที่เอกชนจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมหรือโครงการที่มีจุดมุ่งหมายในเชิงสร้างสรรค์สังคม ศิลปวัฒนธรรม
2.3  เงินบริจาคเอกชน ( Private Gift ) คือ เงินอุทิศช่วยเหลือในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เช่นการพิมพ์เอกสาร อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ

2.3.2 งบประมาณการลงทุนโครงการ

แบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ของโครงการได้ดังนี้


 รูปภาพที่ 2.0 แสดงค่าใช้จ่ายแยกตามพื้นที่การใช้งาน

ค่าใช้จ่าย นอกจากค่าก่อสร้างโครงการแล้วยังมีส่วนของค่าดำเนินงานการของโครงการ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายก่อนการเปิดดำเนินงาน  แบ่งค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้ดังนี้

 -  ค่าที่ดินและปรับปรุงที่ดิน จำนวน 19.2 ไร่                                                           6,360,000     บาท
 -  ค่าปรึกษาและค่าออกแบบโครงการ  5 % ของค่าก่อสร้าง                                     3,473,140     บาท
 -  ค่าบริหารโครงการ  1 % ของค่าก่อสร้าง                                                                 694,628     บาท
 ค่าความคลาดเคลื่อน  10 % ของค่าก่อสร้าง                                                        6,946,280    บาท
 -  ค่าตกแต่งและค่าวัสดุอุปกรณ์  20 % ของค่าก่อสร้าง                                          13,892,560    บาท     

                   รวม                                                                            31,366,608   บาท

  รวมค่าใช้จ่ายในการเปิดดำเนินงาน                        100,892,408                        บาท


2.4 ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ( Technology Facets )

             ศึกษาถึงข้อมูลต่างๆที่เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้ระบบเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมด เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงที่ชัดเจน และสามารถนำไปวิเคราะห์ กำหนดแนวความคิดในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโครงการ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
             - ระบบประกอบอาคาร ( Building System )
             - เทคโนโลยีเฉพาะของโครงการ ( Specific Technology )

2.4.1 ระบบประกอบอาคาร ( Building System )

          ศึกษาข้อมูลพื้นฐานอาคารต่างๆที่จะนำไปใช้การกำหนดชนิด , ประเภท , ความสามารถและประสิทธิภาพและอื่นๆของระบบอาคารที่เหมาะสมกับโครงการ โดยทั่วไปอาคารจะประกอบไปด้วยระบบ มีดังนี้
-          ระบบโครงสร้าง
-          ระบบปรับอากาศ
-          ระบบสุขาภิบาล
-          ระบบบำบัดน้ำเสีย
-          ระบบไฟฟ้ากำลัง
-          ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน
-          ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
-          ระบบสื่อสารและกระจายเสียง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น